โฉนดที่ดินฉบับแรกของไทย

  • 7 months ago
  • 0

ประวัติโฉนดที่ดินฉบับแรกของประเทศไทย

  • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าหลวงเกษตรพร้อมด้วยเจ้าหน้าพนักงานแผนที่เริ่มออกเดินทางสำรวจที่ดินของประเทศเป็นครั้งแรกและดำเนินการรังวัดหมายเลขเขตที่ดินตามประกาศกระแสพระบรมราชโองการบริเวณบ้านพลับ ตำบลเกาะเกิด อำเภอบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นปฐมฤษษ์ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ร.ศ. 120 (พ.ศ. 2444)
  • เนื่องจากยังไม่มีบทกฎหมายเป็นหลักในการออกโฉนดที่ดิน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯออกประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 15 กันยายน ร.ศ. 120 (พ.ศ. 2444) โดยวางระเบียบการเรื่องโฉนดที่ดินไว้โดยแน่ชัดประกาศพระบรมราชโองการฉบับนี้ ถือได้ว่าเป็นกฎหมายฉบับแรกที่ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนที่ดินและสิทธิของผู้เป็นเจ้าของที่ดิน โดยมีแผนที่ระวางแสดงรายละเอียดชี้ได้ว่าที่ดินที่จะดำเนินการออกโฉนดแต่ละแปลงตั้งอยู่บริเวณใด เนื้อที่เท่าใด ใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินในทะเบียน
  • เมื่อดำเนินการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินในท้องที่มณฑลกรุงเก่าเสร็จสิ้นแล้วจึงได้ตั้งหอทะเบียนมณฑลกรุงเก่าขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่สภาคารราชประยูรในพระราชวังบางปะอิน เมื่อวันที่ 20 กันยายน ร.ศ. 120 (พ.ศ. 2444) แต่ต่อมาได้จัดตั้งกรมทะเบียนที่ดิน (กรมที่ดินปัจจุบัน) ขึ้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 120 (พ.ศ. 2444)
  • ในการมอบโฉนดที่ดินในครั้งแรกนั้น สืบเนื่องจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประทับแรมอยู่ ณ พระราชวังบางปะอิน พระยาประชาชีพบริบาล (ผึ่ง ชูโต) ข้าหลวงพิเศษจัดที่ดิน ได้นำโฉนดที่ดินในท้องที่ตำบลบ้านแป้งของพระคลังข้างที่ 2 ฉบับ และของราษฎร 3 ฉบับ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อให้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่เจ้าของที่ดินนับเป็นปฐมฤกษ์ โฉนดที่ดินฉบับแรกของประเทศไทยเป็นโฉนดที่ดิน ซึ่งมีพระนาม “สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์” ทรงถือกรรมสิทธิ์ เป็นโฉนดเลขที่ 1 หน้า 1 เลขที่ดิน 117 ระวาง 17 ต 3 อ ตำบลบ้านแป้ง อำเภอพระราชวัง แขวงเมืองกรุงเก่า (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) เนื้อที่ 91ไร่ 1 งาน 52 ตารางวา
  • นอกจากนี้ ยังพบหลักฐานเกี่ยวกับที่ดิน คือ หมุดหลักฐานศูนย์กำเนิดหมุดแรกในประเทศไทย สร้างขึ้นในสมัยการออกโฉนดที่ดินฉบับแรก และถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การออกโฉนดที่ดินแต่ละแปลงเป็นไปด้วยความถูกต้อง โดยหมุดหลักฐานดังกล่าว ตั้งอยู่กลางทุ่งนาในโฉนดที่ดินเลขที่ 875 หมู่ที่ 4 ตำบลท่าต่อ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งผู้เป็นเจ้าของชื่อนางชิ้น เฉลยโชติ กับพวสกรวม 4 คน โดยสภาพหมุดหลักฐานเป็นหินแกรนนิตแท่นมีการสลบักข้อความทั้งสี่ด้าน บอกถึงความสำคัญของหมุดฐาน และมีร.ศ. ที่จัดสร้างไว้เป็นสำคัญ ปัจจุบันหมุดหลักฐานดังกล่าว มิได้นำมาใช้เป็นหมุดหลักฐานเพื่อวางโครงแผนที่ เนื่องจากกรมที่ดินได้เปลี่ยนแปลงระบบการออกโฉนดจากระบบศูนย์กำเนิดมาเป็นระบบพิกัดฉากสากล (UTM) ที่นิยมใช้กันทั่วโลก

อ่านเพิ่มเติม…

Join The Discussion

Compare listings

Compare